บทสรุป

ปัญหาของปี ค.ศ. 2000 ไม่รุนแรงอย่างที่คิด แต่ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำสงครามเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจ และด้านเทคโนโลยีไปแล้ว ( ดังคำกล่าวที่ว่า แปลงอุปสรรคให้เป็นโอกาสของเขา ) ด้วยกลยุทธ์ทางด้านการค้าอย่างเป็นระบบที่ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน

( SYMPHONY ) สังเกตได้จากการที่มีคำถามจากคู่ค้าของเรา หรือ ผู้ที่เราทำการติดต่อด้วยในด้านต่างๆ มักจะสอบถามถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ของเรา ติดตามมาด้วยคำขู่ที่ว่าหากท่านไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 แล้ว เราจะไม่ทำการติดต่อค้าขายกับคุณ และท้ายที่สุดก็ติดตามมาด้วยคำตอบ จากผู้ผลิตหรือผู้ขายเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซ็อฟท์แวร์ ต่างๆ ว่า ถ้าหากจะทำการแก้ไขปัญหานี้ จะต้องใช้แนวทางนี้ และจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนเท่านี้ พร้อมๆกับ การดำเนินการขึ้นราคาสินค้าไปอีก 60 % เนื่องจากเห็นว่าประเทศที่ด้อยกว่าหมดทางเลือกแล้วนั่นเอง โดยมีนายหน้าที่เป็นนักวิชาการของเราเองกลุ่มหนึ่ง ทำหน้าที่ช่วยโหมกระพือข่าวให้เกิดความตื่นตระหนก และสับสนกับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ เกินกว่าความเป็นจริง

?

LEW YEAR เป็นวิธีการในการดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อช่วยให้สามารถก้าวข้ามปี ค.ศ. 2000 ไปได้ และจะต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมของ LEW YEAR ต่อไปอีกสักระยะหนึ่งประมาณ 1-5 ปี ตามแต่สถานะการณ์ของแต่ละธุรกิจที่ได้นำไปประยุกต์ใช้งานหลังจากนั้น ก็จะสามารถปรับระบบงานให้กลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติได้เหมือนเดิมเสมือนหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้นเช่นเดียวในช่วงปี ค.ศ. 1900 - 1999 ทุกประการ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อการนี้ทั้งสิ้น หรือถ้าจะมีค่าใช้จ่ายก็คงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายเฉพาะในส่วนของนาฬิกาที่เป็นซ็อฟท์แวร์ ที่ได้ซื้อมาใส่เพิ่มเข้าไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นเอง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้แนวทางแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 โดย LEW YEAR มีความสมบูรณ์แบบ และครอบคลุมประเด็นต่างๆได้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ที่สำคัญก็คือวิธีการนี้จะส่งผลให้มีความสำเร็จ ความถูกต้อง ความสมบูรณ์ และความครบถ้วน มากกว่าการใช้วิธีการใดๆ ทั้งสิ้น ต่อเมื่อผ่านพ้นปี ค.ศ. 2000 ไปแล้วค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจะต้องใช้ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 จะถูกลงอย่างมาก เนื่องจากได้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการตื่นตระหนกกับปัญหาของปี ค.ศ. 2000 ไปแล้ว ช่วงนี้ถ้ายังอยากแก้ไขระบบงานต่างๆเพื่อให้รองรับปี ค.ศ. 2000 ได้ตามแบบสากลนิยมหรือตามแฟชั่น ก็ย่อมสามารถจะทำได้โดยไม่มีใครว่าอะไร แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามาก หรือถ้าจะเลือกแนวทางที่จะใช้จำนวนเงินงบประมาณก้อนเดียวกันนี้ เพื่อจัดการซื้อระบบงานใหม่ที่มีความทันสมัยมากกว่าและไม่มีปัญหาของปี ค.ศ. 2000 มาใช้ในการดำเนินงานแทนระบบงานเดิม ( LEGACY ) ซึ่งกำลังจะหมดยุคไปแล้ว ก็ย่อมสามารถจะทำได้อีกเช่นเดียวกัน

หากรัฐบาลมีความกล้าหาญพอที่จะออกกฎหมายประกาศใช้ปฏิทินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชุดนอกจากปี ค.ศ. และ พ.ศ. เพื่อใช้ในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว ก็จะยิ่งเพิ่มความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับ มินิ และเมนเฟรมขึ้นอีกเป็นทวีคูณ กล่าวคือไม่จำเป็นจะต้องมีโปรแกรมดักอยู่ที่ประตูขาเข้า และ ประตูขาออก ทั้งในส่วนของรายการเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ และโปรแกรมผลิตรายงานดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น รวมถึงไม่ต้องซื้อนาฬิกาซ็อฟท์แวร์มาใส่เพิ่มให้กับคอมพิวเตอร์ด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รายงาน หรือใบเสร็จรับเงินที่ออกมาจากคอมพิวเตอร์ จะพิมพ์วันที่เป็น ปี ค.ศ. 2000 ก็ได้ หรือเป็นปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ก็ได้ หรือเป็นปี ค.ศ.+ 2028 ก็ได้ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด เหมือนข้อตกลงสำหรับการสื่อสารในปัจจุบันที่เราสามารถจะเลือกได้ว่าจะใช้ Protocol แบบไหนในการสื่อสารกับคู่ค้าของเราก็ได้โดยอิสระ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อประเทศไทยได้ประกาศเพิ่มการใช้ปฏิทินใหม่แล้วก็จะมีมีอีกหลายประเทศโดยเฉพาะในแถบเอเซียที่จะนำเอาปฏิทินใหม่นี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาปี ค.ศ. 2000 ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาด้วยเช่นเดียวกัน เพราะหัวอกเดียวกัน และของฟรีใครๆก็ชอบ และต่อไปในอนาคตฝรั่งต่างชาติอาจต้องหันมาใช้ปี ค.ศ. + 20208 ติดต่อค้าขายกับชาวเอเซียเพราะเราเป็นผู้ซื้อ เขาเป็นผู้ขาย ดังนั้นผู้ซื้อจึงควรผู้ที่กำหนดกติกาได้(บ้าง) ไม่ใช่ผู้ขายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดกติกา

ข้าพเจ้ามีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ฉบับนี้ คงจะได้รับความร่วมมือจาก ISP นิตยสารคอมพิวเตอร์ ตลอดจนสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ ในอันที่จะได้ช่วยกันนำไปเผยแพร่ต่อๆกันไป โดยมิต้องดำเนินการขออนุญาตในเรื่องของลิขสิทธิ์ใดๆต่อข้าพเจ้าทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ขอใช้ช่วยกันบอกแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย เพื่อป้องกันการบิดเบือนข้อมูล หากท่านผู้อ่านมีความคิดเห็น ข้อแนะนำ หรือข้อสงสัยใดๆ ขอความกรุณาช่วยกันแสดงความคิดเห็นใน NEWS Group ของสมาคมธนาคารไทย www.scb.co.th/y2kเพื่อจะได้ดำเนินการรวบรวม

ข้อมูลเสนอให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาต่อไป

back to main